สาระสุขภาพ

25Jun
2016

ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 Slices CT Scan

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 Slices CT Scan เป็นเครื่องที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย มีประสิทธิภาพด้วยความเร็วและความละเอียดสูง สามารถสร้างภาพได้ถึง 64 ภาพ ในครั้งเดียวของรอบการหมุนหรือสแกน(360 องศา) ด้วยความเร็วเพียง 0.4 วินาที ทำให้ได้ภาพถึงกว่า 2,000 ภาพ ส่งผลให้การตรวจมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะอวัยวะภายในที่มีการเคลื่อนไหวอย่างเช่น หัวใจ ซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะได้ภาพที่ไม่ชัดเจน แต่ด้วยเครื่องเครื่องดังกล่าวสามารถให้เกิดภาพที่ชัดเจน ทั้งแบบ2 มิติ และ 3 มิติ รวมถึงทุกส่วนต่างๆของร่างกาย อาทิ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ กระดูก หัวใจ หรือแม้แต่ท่อลมในบริเวณปอด ด้วยเหตุนี้เครื่องดังกล่าวจึงเอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการตรวจวินิจฉัยโรค และการวางแผนการรักษาให้ผู้รับการรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ไม่ต้องนอนพักและมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 Slices CT Scan เป็นเครื่องที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย มีประสิทธิภาพด้วยความเร็วและความละเอียดสูง สามารถสร้างภาพได้ถึง 64 ภาพ ในครั้งเดียวของรอบการหมุนหรือสแกน(360 องศา) ด้วยความเร็วเพียง 0.4 วินาที ทำให้ได้ภาพถึงกว่า 2,000 ภาพ ส่งผลให้การตรวจมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะอวัยวะภายในที่มีการเคลื่อนไหวอย่างเช่น หัวใจ ซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะได้ภาพที่ไม่ชัดเจน แต่ด้วยเครื่องเครื่องดังกล่าวสามารถให้เกิดภาพที่ชัดเจน ทั้งแบบ2 มิติ และ 3 มิติ รวมถึงทุกส่วนต่างๆของร่างกาย อาทิ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ กระดูก หัวใจ หรือแม้แต่ท่อลมในบริเวณปอด ด้วยเหตุนี้เครื่องดังกล่าวจึงเอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการตรวจวินิจฉัยโรค และการวางแผนการรักษาให้ผู้รับการรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ไม่ต้องนอนพักและมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม 
 
การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
การตรวจอวัยวะระบบต่างๆ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง อาจจะมีการฉีดสารทึบรังสี
เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยทุกท่านต้องปฏิบัติตัวดังนี้
1. งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง
2. แจ้งเจ้าหน้าที่ขณะมาทำการนัดตรวจหรือก่อนรับการตรวจในกรณีต่อไปนี้
      2.1 สตรีตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
      2.2 ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสีมาก่อน
      2.3 ผู้ป่วยมีประวัติแพ้อาหารทะเล
      2.4 ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาอื่นๆ
      2.5 ผู้ป่วยมีประวัติโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต
 
3.ในกรณีผู้ป่วยที่ทำการตรวจระบบช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด ผู้ป่วยอาจจะต้องดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของสารทึบรังสีตามคำแนะนำของเจ้า หน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ
 
การปฏิบัติตัวในระหว่างการตรวจ
การตรวจแต่ละส่วนจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที แล้วแต่ระบบอวัยวะที่ตรวจในขณะทำการตรวจให้ท่านปฏิบัติดังนี้
1. นอนนิ่งๆ ในท่าที่สบาย โดยเจ้าหน้าที่ประจำห้องจะเป็นผู้จัดทำให้
2. ในกรณีผู้ที่ทำการตรวจระบบช่องท้องส่วนล่างและช่องท้องทั้งหมด เจ้าหน้าที่ประจำห้องอาจจะทำการสวนสารทึบรังสีผสมน้ำเข้าทางทวารหนัก เพื่อช่วยในการแสดงตำแหน่งของลำไส้ใหญ่แยกออกจากอวัยวะใกล้เคียงในบริเวณที่ ตรวจ
3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ประจำห้อง เช่น การหายใจเข้า-ออก และการกลั้นหายใจ เพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน (ไม่เกิดภาพไหวเพราะการหายใจ)
4. ในขณะที่ทำการตรวจท่านจะรู้สึกเตียงเลื่อน เข้า – ออก พร้อมกับมีเสียงดังจากการทำงานของ
เครื่องท่านไม่ต้องตกใจเพราะมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องคอยควบคุมดูแลอยู่
5. ในขณะที่ฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ ท่านอาจจะมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดตามแนว
หลอดเลือดแขนข้างที่ฉีดร้อนทั่วร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น อาการดังกล่าวจะค่อยๆ หาย
ไปหลังจากหยุดการฉีดสารทึบรังสี ท่านไม่ต้องกังวล เพราะภายห้องตรวจจะมีรังสีแพทย์บุคลากร
ทางรังสี และพยาบาลคอยดูแลอาการของท่านอย่างดีตลอดเวลาการตรวจ ในขณะที่มีการถ่ายภาพ
เอกซเรย์ท่านจะอยู่ภายในห้องตรวจ เพียงผู้เดียว เจ้าหน้าที่จะดูแลอาการของท่านผ่านทางโทรทัศน์
วงจรปิด ขณะเดียวกันถ้าท่านมีอาการผิดปกติอื่นๆ ท่านสามารถพูดติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันทีโดย
ผ่านทางไมโครโฟนที่ติดอยู่กับเครื่อง
 
รีบแจ้งพยาบาล หรือ รังสีแพทย์ทันที ถ้าท่านเกิดอาการเหล่านี้ หลังฉีดสารทึบรังสี
- หายใจไม่สะดวก อึดอัด ใจสั่น หน้ามืด
- อาการคัน มีผื่นแดงตามร่างกาย ใบหน้า
- อาการปวดบวมแดงรอบๆ ตำแหน่งที่แทงเข็ม
- ในกรณีที่ได้รับสารทึบรังสีแล้ว ปัสสาวะไม่ออกหรือออกน้อยกว่า 500 ซีซี ภายใน 24 ชั่วโมง ต้องรีบกลับมา พบแพทย์ด่วน
 
การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ
สารทึบรังสีที่ได้รับการฉีดเข้าไปจะถูกขับออกทางปัสสาวะโดยผ่านการกรองที่ไต ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับ
การฉีดสารทึบรังสี ควรดื่มน้ำมากๆ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจด้วยการฉีดสารทึบรังสี
 
สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ
คือสารที่ใช้ในการวินิจฉัยทางรังสี เพื่อให้เกิดความแตกต่างของสารทึบต่อรังสีเอกซ์ ระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจน เป็นสารประกอบของไอโอดีนกับอินทรีย์สาร มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. ชนิดแตกตัวเป็นประจุ มีราคาถูก
2. ชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุ มีราคาสูงเกิดอาการข้างเคียงน้อยกว่าชนิดแตกตัวเป็นประจุ แต่ทั้ง
ทั้ง2 ชนิด ยังทำให้เกิดอาการแพ้ได้ การเลือกชนิดของสารทึบรังสี อยู่ในดุลพินิจของรังสีแพทย์
 
วิธีใช้สารทึบรังสี
1. ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
2. ให้ผู้ป่วยดื่ม โดยผสมสารทึบรังสีกับน้ำดื่ม
3. ใช้สวนเข้าทางทวารหนัก โดยผสมสารทึบรังสีกับน้ำสะอาด
หมายเหตุ ข้อ 2 และ ข้อ 3 ใช้เฉพาะการตรวจอวัยวะในช่องท้อง
 
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดสารทึบรังสีได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง เจ็บปวดและร้อนทั่วร่างการ อาการดังกล่าวจะบรรเทาลงหลังฉีดสารทึบรังสี
อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ หนาวสั่น มีไข้เหงื่อออก ปวดศรีษะมึนงง อ่อนเพลีย ความดันโลหิตผิดปกติ อาการคัน ลมพิษ จาม ไอ จนถึงอาการสิ้นสติได้ ซึ่งอาการแพ้จนสิ้นสตินี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ปกติรังสีแพทย์ บุคลากรทางรังสี และพยาบาลที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจะคอยดูแลท่านและระงับอาการแพ้สารทึบ รังสีขั้นต้นก่อนที่จะเกิดการแพ้ขั้นรุนแรงต่อไปอย่างเต็มความสามารถ
 
อวัยวะที่สำคัญที่สามารถใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 Slices CT Scan
 
1. หัวใจ
ใช้ตรวจปริมาณแคลเซียมที่เกาะผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
ตรวจดูการตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
 
2. สมอง
สามารถตรวจดูปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะอัมพาต อัมพฤกษ์
 
3. ลำไส้ใหญ่
ด้วยเทคนิคใหม่ Virtual Colonoscopy ช่วยให้สามารถตรวจหารอยโรคเล็กๆ ที่อาจจะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ก่อนและรักษาได้เร็ว สามารถหายขาดได้
 
4. ปอด
ช่วยให้ค้นหามะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกได้มากขึ้น ซึ่งในเอกซเรย์ปอดทั่วไปอาจปกติ การรักษาได้ผลดีมากขึ้น โอกาสหายขาดมีมากขึ้น
 
5. หลอดเลือดทั่วร่างกาย
เนื่องจากการสแกนภาพใช้เวลาน้อยมาก(เป็นวินาที) จึงสามารถใช้ตรวจดูการตีบตันหรืออุดตันของเส้นเลือดได้ทั่ว
ร่างกาย
 
6. ทันตกรรม
ใช้วางแผนการรักษา การจัดฟัน การใส่รากฟันเทียมหรือเพื่อการผ่าตัด
 
7. กระดูกและข้อ
ความสามารถในการสร้างภาพ 3 มิติ ที่เสมือนภาพจริง และลูกเล่นการตัด ตกแต่งภาพ ช่วยให้แสดงภาพของกระดูกที่ซับซ้อนต่างๆ มีความละเอียด ชัดเจน รักษาได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
 

Share With your friends

ความรู้ทีน่าสนใจ

  • เครื่องอัลตร้าซาวด์

  • แมมโมแกรม (Mammogram)

  • MRI

© 2015 Bangkok Hospital . All rights reserved.
Cookie Policy
Privacy