สาระสุขภาพ
27Apr
2023
“ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร”

“ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร”
หัวใจหลัก 3 ข้อในการมีชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก่อนวัยอันควร ได้แก่ ตรวจคัดกรอง ป้องกัน และรีบรักษา ซึ่งการตรวจสุขภาพก็เป็นการตรวจคัดกรองและเป็นหนึ่งในหัวใจของการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน การตรวจสุขภาพโดยทั่วไปควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ แนะนำให้ตรวจปีละ 1 ครั้ง ส่วนคนที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ อาจจะแนะนำให้ตรวจสุขภาพมากกว่าปีละ 1 ครั้ง ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และอาจจะต้องมีการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพิ่มเติมอีกต่อไป
คำแนะนำในการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล จะแบ่งตามกลุ่มอายุ ,เพศ และปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ โดยมีคำแนะนำทั่วไปดังต่อไปนี้
1. บุคคลที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เป็นต้นไป ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. บุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ร่วมกับมีญาติสายตรง เช่น บิดา,มารดา,พี่,น้อง มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ,ความดันโลหิตสูง , ไขมันในเลือดสูง ,หลอดเลือดหัวใจ ,หลอดเลือดสมอง ,โรคไต หรือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเลือดธาลัสซีเมีย เป็นต้น
3. กลุ่มบุคคลที่มีความผิดปกติต่างๆ (ไม่ว่าช่วงอายุใด) เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ กินจุ หิวง่าย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ ปวดข้อไม่ทราบสาเหตุ โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อตรวจหาสาเหตุความผิดปกติภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ในศตวรรษที่ 21 โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ในเรื่องของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ มลภาวะ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพแบบใหม่ๆที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราในปัจจุบัน โดยพาะอย่างยิ่งการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไวรัสโควิด 19 เมื่อปลายปี 2562 ทำให้คนทั่วโลกรวมถึงคนไทยมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางสุขภาพที่ก้าวหน้า เช่น อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ (Health wearable device) ,นาฬิกาข้อวัดการเต้นของหัวใจ (smart watch) ,การแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ,การแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) และการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic medicine) หรือการตรวจทางด้านพันธุกรรม เป็นต้น
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกมีกระแสแนวคิดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากยิ่งขึ้น โดยมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle modification) ร่วมกับการใช้สารอาหาร, อาหารเสริม,การปรับสมดุลฮอร์โมน และการใช้สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (preventive medicine) จะมีความสำคัญมากขึ้นต่อไปในอนาคตเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและรับมือการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่ไม่อาจทำนายได้
อีกทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางสุขภาพที่ก้าวหน้า เช่น อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ (Health wearable device) ,นาฬิกาข้อวัดการเต้นของหัวใจ (smart watch) ,การแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ,การแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) และการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic medicine) หรือการตรวจทางด้านพันธุกรรม เป็นต้น
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกมีกระแสแนวคิดการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากยิ่งขึ้น โดยมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle modification) ร่วมกับการใช้สารอาหาร, อาหารเสริม,การปรับสมดุลฮอร์โมน และการใช้สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (preventive medicine) จะมีความสำคัญมากขึ้นต่อไปในอนาคตเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและรับมือการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่ไม่อาจทำนายได้
โดยสรุปแล้วการตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญในทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ซึ่งควรมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ภายหลังการระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 มีกระแสความนิยมในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น เพื่อรับมือกับสังคมสูงวัย โรคอุบัติใหม่ในอนาคต และความไม่แน่นอนของโลกในปัจจุบัน ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle modification) ร่วมกับการใช้สารอาหาร, อาหารเสริม,การปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ เพื่อปรับสมดุลร่างกาย นำมาใช้ในการป้องกันก่อนเกิดโรค ซึ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (preventive medicine) จะมีความสำคัญต่อสุขภาวะ (wellness) ของประชากรบนโลกใบนี้ต่อไปในอนาคต
ในตอนต่อไป EP.2 จะอธิบายเรื่องของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (preventive medicine) ว่ามีความสำคัญต่อไปในอนาคตอย่างไรกันนะครับ

บทความโดย นพ. วทัญญู เด่นปรีชาวงศ์
แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ แผนกส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
Share With your friends