ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป
คลินิกโรคเลือด บริการตรวจ วินิจฉัย รักษา กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา (Hematologic malignancy group) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางเลือดโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง (Non-hematologic malignancy group) เช่น กลุ่มผู้ป่วยโลหิตจางกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น โดยมีบริการตรวจทางพยาธิวิทยา (Pathology) ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการ เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลดผิดปกติ เป็นต้น
บริการต่างๆ
บริการต่างๆ
การวางแผนการรักษา (Care plan)
• ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาด้านมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงโรคทางโลหิตวิทยาทีไม่ใช่มะเร็ง เช่น โลหิตจางจากภาวะต่างๆ การเตรียมตัวผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางเม็ดเลือดก่อนการเข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น
• เฝ้าติดตามผู้ป่วยมะเร็งด้านโลหิตวิทยาอย่างต่อเนื่องทั้งระหว่างและหลังให้ยาเคมีบำบัด เพื่อประเมินการดื้อต่อการรักษา (Refractory) ผลสัมฤทธิ์การหายขาดจากตัวโรค (Overall survival) ภาวะการปลอดจากโรค (Progress free survival) รวมถึงภาวะการกลับเป็นซ้ำของโรค (Relapse)
• ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างให้ยาเคมีบำบัด เช่น การติดเชื้อจากภาวะภูมิคุ้ม กันต่ำระหว่างให้ยาเคมีบำบัด การดูแลเพื่อป้องกันภาวะรั่วซึมของยาเคมีบำบัดระหว่างการบริหารยา
• ประเมินผู้ป่วยและญาติหลังให้การวินิจฉัยโดยแพทย์ และมีการเตรียมตัวก่อนให้ยาเคมีบำบัด (Pre-counseling) ทั้งในเรื่องตัวโรค (Disease) การพยากรณ์โรค (Prognosis) แนวทางการรักษา (Plan of treatment) และการดูแลระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด (Plan of caring and discharge planning) รวมถึงการติดตามหลังการจำหน่ายผู้ป่วย (Home chemotherapy patient monitoring and self-caring)
• มีส่วนร่วมกับชุมชน (Community participation) เช่น ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังชุมชน (Primary care system) เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องยังชุมชน นอกจากนี้ยังส่งตัวผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องยังโรงพยาบาลภาครัฐที่ผู้ป่วยสังกัด (Transferring system)
การเข้าถึงบริการและการประเมิน (Entry and Assessment)
• กระบวนการคัดกรองและการวินิจฉัยโรค ผ่านกระบวนการ Process assessment one stop service ก่อนเข้าห้องตรวจแพทย์โดยพยาบาลประสานงานผู้ป่วยโรคเลือด หลังจากนั้นให้พบแพทย์ร่วมกับญาติ 1-2 ท่านซึ่งสามารถร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ ประสานงานห้องปฏิบัติการนักเทคนิคการแพทย์เพื่อส่งชิ้นเนื้อย้อมเพิ่มเติม และหัตถการที่สำคัญคือการเจาะไขกระดูก รวมถึงประสานงานกับหน่วยรังสีเพื่อพิจารณาประเมินระดับความรุนแรงของโรค แพทย์จึงพิจารณาวางแผนการรักษา โดยการแนะนำการปฏิบัติตนก่อนการเริ่มวางแผนการรักษา ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย การปฏิบัติตัวก่อนและหลังรักษา รวมถึงการวางแผนการจำหน่าย การติดตามอาการตามแพทย์นัด และการส่งต่อหน่วยรับบริการใกล้บ้านกรณีมีเหตุฉุกเฉิน เร่งด่วน
การวางแผนการรักษา (Care plan)
• การวางแผนการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาต้องมีความร่วมมือระหว่างแพทย์ ตัวผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพ โดยการรักษามีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินดังนี้
1. ตั้งเป้าหมายแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรคโดยการประเมินสภาพผู้ป่วยระดับ ECOG Score
2. ประเมินความเสี่ยงระหว่างการรักษา/ระหว่างให้ยา
3. ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง
4. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงคนปกติ
5, ส่งเสริมการดูแลตนเองและประเมินผลการรักษาด้วยตนเอง
6. ติดตามผู้ป่วยหลังการจำหน่าย และแจ้งสายด่วนเพื่อรับคำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การให้การดูแลรักษา (Care delivery)
ผู้ป่วยโรคลหิตวิทยาจะได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพตามแนวทาง ดังนี้
• ผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาเกี่ยวกับ Hematologic malignancy ต้องได้รับการประเมิน ตรวจร่างกายและสรุปผล Pathology ผ่านแพทย์เฉพาะทางหน่วยโลหิตวิทยาเท่านั้น
• เมื่อผู้ป่วย Hematologic malignancy ได้รับวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโดยการเสนอทางเลือกผู้ป่วยโดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์มากสุด และได้รับส่งเสริมภูมิคุมกัน โดยโปรแกรมวัคซีน
• ผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยาทุกรายจะได้รับการแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวระหว่างการรักษาตัว ที่โรงพยาบาล และหลังออกจากโรงพยาบาล โดยได้รับคู่มือประกอบการปฏิบัติตนและประวัติการรักษา
• ผู้ป่วยระหว่างได้รับยาต้องได้รับการดูแล แบบReverse precaution อย่างเคร่งครัด ซึ่งมีการสื่อสารในทีมให้รับทราบในการแยกผู้ป่วยตรวจจากกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ
การเตรียมการจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)
• ก่อนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาจะประเมินระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการดำรงชีวิต ความรู้เรื่องโรคเพื่อดูแลตนเอง การใช้ยาและเป้าหมายการรักษา และพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
• ผู้ป่วยง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล และติดต่อปรึกษากับแพทย์และพยาบาลประสานงานผู้ป่วยโรคเลือด
การดูแลต่อเนื่องและกระบวนการติดตามผลลัพธ์การรักษา
การเสริมพลัง (Empower) และการสร้างเสริมสุขภาพ
• ผู้ป่วยโลหิตวิทยาจะได้รับการประเมินความรู้และให้คำแนะนำในการดูแลตนเองด้วยวิธีการ การพูดคุย/แนะนำรายบุคคล, การจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้, ซึ่งผู้ป่วยโลหิตวิทยาจะได้รับคำแนะนำและ สร้างเสริมพลังอำนาจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ติดตามประเมินผลการรักษา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ภาพ และ วีดีโอวิชาการ
บทความที่มีประโยชน์
คลินิกอายุรกรรมโรคเลือด เปิดให้บริการ
จันทร์ - พุธ 08.00 - 17.00 น.
พฤหัสบดี 08.00 - 20.00 น
เสาร์ 09.00 - 12.00 น.
อาทิตย์ 08.00 - 17.00 น.