โรคไส้เลื่อน หรือ Hernia
คือโรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ หรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยานสูญเสียความแข็งแรง ไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่ง และมักปรากฏเป็นก้อนตุงออกมา โดยส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปจะยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็ก คำว่า Hernia มาจากภาษาลาตินแปลว่า Rupture (แตก) ทั้งนี้โรคไส้เลื่อนแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามตำแหน่งที่อวัยวะเคลื่อนไปอยู่ และตามสาเหตุการเกิด การรักษาส่วนใหญ่ต้องอาศัยการผ่าตัดไส้เลื่อนแต่ละชนิด จะพบได้ในเพศ และวัยที่แตกต่างกันไป แต่พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทั้งนี้


1.ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ (Inguinal hernia) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 25 เท่า เป็นไส้เลื่อนชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือประมาณ 75% ของไส้เลื่อนทั้งหมด อาการนี้หากเกิดในผู้ชาย ก็มักจะเข้าใจไปว่าเป็นไส้เลื่อนลงอัณฑะ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะอาการนี้เกิดจากความอ่อนแอของผนังหน้าท้องบริเวณขาหนีบซึ่งเป็นมาตั้งแต่กำเนิด และอาการจะแสดงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่มสาว หรือวัยกลางคน บางกรณีอาจเกิดจากการไอเรื้อรัง จากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือถุงลมโป่งพอง ไส้เลื่อนชนิดนี้อาจมีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้เช่น ไส้เลื่อนไปทับบริเวณเส้นเลือดใหญ่ที่ขา หรือต่อมน้ำเหลือง ที่อันตรายกว่านั้นคือทำให้ความดันในช่องท้องสูงจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ

2.ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือที่เรียกกันว่าสะดือจุ่น มักพบตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือก็จะปิดไป ตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นพังผืดเข้ามาปกคลุม แต่หากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ต่อชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้

3.ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- Sliding hiatal hernia คือการที่บางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม (ซึ่งเป็นทางที่หลอดอาหารลอดเข้าสู่ช่องท้อง) เข้าไปอยู่ในช่องอก
- Paraesophageal hernia คือการที่บางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม ซึ่งอยู่ข้างๆรูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร
ทั้งนี้ สาเหตุของทั้ง 2 ชนิด เกิดจากกล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมมีการหย่อนยานและเสียความยืดหยุ่น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในคนสูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงร่วมคือ ความดันในช่องท้อง ที่มากกว่าปกติ
.jpg)
4.ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อย เกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น เกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่เรียกว่า Femoral canal ซึ่งอยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมา ทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงบริเวณที่ต่ำต่อขาหนีบ ปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น

5.ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) เป็นชนิดพบได้น้อยมาก ไส้เลื่อนประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่า เป็นอาการที่ลำไส้บางส่วนเคลื่อนที่ผ่านช่องตรงกระดูกเชิงกราน และที่ผู้หญิงเป็นมากกว่าก็เพราะกายวิภาคบริเวณเชิงกรานของผู้หญิงเอื้ออำนวยต่อการเกิดอาการนี้มากกว่าผู้ชาย
6.ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) โดยเกิดในตำแหน่งที่เคยผ่าตัดมาแล้ว บางครั้งการผ่าตัดที่หน้าท้องเมื่อหายแล้ว ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อและผังพืดนั้นหย่อนยานกว่าปกติ ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนตัวมาตุงยังบริเวณนั้นได้ แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นในอัตราที่ไม่มากนักประมาณ 2-10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายในช่องท้อง

อนึ่ง การที่มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อนต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว เกิดจากหลายสาเหตุได้แก่
◦ การมีน้ำหนักตัวมาก
◦ การยกของหนักบ่อยๆ
◦ การไอเรื้อรัง
◦ เป็นโรคปอดถุงลมโป่งพอง
◦ การเบ่งอุจจาระและปัสสาวะเป็นประจำ
◦ เกิดภาวะมีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก
◦ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
.jpg)


2.ไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) หรือที่เรียกกันว่าสะดือจุ่น มักพบตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสพบมากขึ้น เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว ผนังหน้าท้องตรงสะดือก็จะปิดไป ตั้งแต่ชั้นของผิวหนัง ชั้นของกล้ามเนื้อ และมีชั้นพังผืดเข้ามาปกคลุม แต่หากผนังหน้าท้องส่วนที่อยู่ใต้ต่อชั้นของผิวหนังปิดไม่สนิทแล้ว บางส่วนของลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวออกมาอยู่ใต้สะดือและดันจนสะดือโป่งได้

3.ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal hernia) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- Sliding hiatal hernia คือการที่บางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม (ซึ่งเป็นทางที่หลอดอาหารลอดเข้าสู่ช่องท้อง) เข้าไปอยู่ในช่องอก
- Paraesophageal hernia คือการที่บางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลม ซึ่งอยู่ข้างๆรูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร
ทั้งนี้ สาเหตุของทั้ง 2 ชนิด เกิดจากกล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมมีการหย่อนยานและเสียความยืดหยุ่น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในคนสูงอายุ ปัจจัยเสี่ยงร่วมคือ ความดันในช่องท้อง ที่มากกว่าปกติ
.jpg)
4.ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernia) พบได้ค่อนข้างน้อย เกือบทั้งหมดจะพบแต่ในผู้หญิงเท่านั้น เกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่เรียกว่า Femoral canal ซึ่งอยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมา ทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงบริเวณที่ต่ำต่อขาหนีบ ปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น

5.ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน (Obturator hernia) เป็นชนิดพบได้น้อยมาก ไส้เลื่อนประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่า เป็นอาการที่ลำไส้บางส่วนเคลื่อนที่ผ่านช่องตรงกระดูกเชิงกราน และที่ผู้หญิงเป็นมากกว่าก็เพราะกายวิภาคบริเวณเชิงกรานของผู้หญิงเอื้ออำนวยต่อการเกิดอาการนี้มากกว่าผู้ชาย
6.ไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด (Incisional hernia) โดยเกิดในตำแหน่งที่เคยผ่าตัดมาแล้ว บางครั้งการผ่าตัดที่หน้าท้องเมื่อหายแล้ว ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อและผังพืดนั้นหย่อนยานกว่าปกติ ส่งผลให้ลำไส้เคลื่อนตัวมาตุงยังบริเวณนั้นได้ แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นในอัตราที่ไม่มากนักประมาณ 2-10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายในช่องท้อง

อนึ่ง การที่มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อนต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว เกิดจากหลายสาเหตุได้แก่
◦ การมีน้ำหนักตัวมาก
◦ การยกของหนักบ่อยๆ
◦ การไอเรื้อรัง
◦ เป็นโรคปอดถุงลมโป่งพอง
◦ การเบ่งอุจจาระและปัสสาวะเป็นประจำ
◦ เกิดภาวะมีน้ำในช่องท้องปริมาณมาก
◦ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
.jpg)

ไส้เลื่อนมีอาการอย่างไร?
1. รู้สึกปวดหน่วงๆ เหมือนมีอะไรไหลออกมา หรือเจ็บตรงบริเวณที่เกิดโรค
2. ลักษณะเป็นก้อนนูน สามารถผลุบเข้าออกได้บริเวณผนังหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ บางครั้งถ้ามันยื่นออกมาแล้วไม่หุบกลับเข้าไปเอง อาจจะมีอาการปวดบริเวณก้อนนั้นได้
1. รู้สึกปวดหน่วงๆ เหมือนมีอะไรไหลออกมา หรือเจ็บตรงบริเวณที่เกิดโรค
2. ลักษณะเป็นก้อนนูน สามารถผลุบเข้าออกได้บริเวณผนังหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ บางครั้งถ้ามันยื่นออกมาแล้วไม่หุบกลับเข้าไปเอง อาจจะมีอาการปวดบริเวณก้อนนั้นได้
ไส้เลื่อน อันตรายไหม ?
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการไส้เลื่อนนั้นไม่ใช่อาการที่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่อาจจะสร้างความรำคาญ และอาจทำให้รู้สึกไม่คล่องตัวได้ แต่ในไส้เลื่อนบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ตัวอย่างเช่นไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่อันตรายได้ ดังนั้น หากเป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ไม่ควรปล่อยไว้ ควรเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการไส้เลื่อนนั้นไม่ใช่อาการที่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่อาจจะสร้างความรำคาญ และอาจทำให้รู้สึกไม่คล่องตัวได้ แต่ในไส้เลื่อนบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ตัวอย่างเช่นไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่อันตรายได้ ดังนั้น หากเป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบ ไม่ควรปล่อยไว้ ควรเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
โรคไส้เลื่อนรุนแรงไหม?
ในรายที่เป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบหรือถุงอัณฑะ อาจพบภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่น ลำไส้ติดคาที่หน้าท้องไม่สามารถเคลื่อนกลับเข้าไปช่องท้องได้ กรณีนี้เรียกว่า ไส้เลื่อนชนิดติดคา และก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้และอาเจียนได้ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลำไส้ส่วนนั้นจะถูกบีบรัดจนขาดเลือด ทำให้เกิดลำไส้เน่า และเกิดอาการติดเชื้อที่อันตรายได้
ในรายที่เป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบหรือถุงอัณฑะ อาจพบภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่น ลำไส้ติดคาที่หน้าท้องไม่สามารถเคลื่อนกลับเข้าไปช่องท้องได้ กรณีนี้เรียกว่า ไส้เลื่อนชนิดติดคา และก่อให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้และอาเจียนได้ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลำไส้ส่วนนั้นจะถูกบีบรัดจนขาดเลือด ทำให้เกิดลำไส้เน่า และเกิดอาการติดเชื้อที่อันตรายได้
แพทย์วินิจฉัยไส้เลื่อนได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคไส้เลื่อน จากการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยจะตรวจทั้งในท่านอน ท่ายืน และให้ผู้ป่วยออกแรงเบ่ง ซึ่งการวินิจฉัยจะทำได้ไม่ยาก สิ่งที่สำคัญคือ การให้การวินิจฉัยว่าไส้เลื่อนที่ตรวจพบเกิดภาวะติดคาขึ้นหรือไม่ รวมทั้งไส้เลื่อนที่ติดคาเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหรือยัง โดยอาศัยจากอาการและการตรวจร่างกายร่วมกันในกรณีที่ไม่แน่ใจในการวินิจฉัยว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ อาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์ช่วยในการตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งมักคลำไม่ได้ก้อน แต่จะมีอาการของลำไส้อุดตันเป็นๆ หายๆ การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจช่องท้องด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยยืนยันสำหรับโรคไส้เลื่อนกระบังลม เนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏอาการ การวินิจฉัยบางครั้งจึงเป็นการบังเอิญตรวจพบ โดยเฉพาะจากการเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะเห็นเงาผิดปกติในช่องอก การตรวจยืนยันการวินิจฉัยอาจใช้การกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องตรวจก็ได้ บางครั้งอาจเผอิญตรวจพบจากการส่องกล้องเพื่อตรวจกระเพาะอาหาร เป็นต้น ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน แพทย์ก็จะส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคไส้เลื่อน จากการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยจะตรวจทั้งในท่านอน ท่ายืน และให้ผู้ป่วยออกแรงเบ่ง ซึ่งการวินิจฉัยจะทำได้ไม่ยาก สิ่งที่สำคัญคือ การให้การวินิจฉัยว่าไส้เลื่อนที่ตรวจพบเกิดภาวะติดคาขึ้นหรือไม่ รวมทั้งไส้เลื่อนที่ติดคาเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหรือยัง โดยอาศัยจากอาการและการตรวจร่างกายร่วมกันในกรณีที่ไม่แน่ใจในการวินิจฉัยว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นไส้เลื่อนหรือไม่ อาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์ช่วยในการตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งมักคลำไม่ได้ก้อน แต่จะมีอาการของลำไส้อุดตันเป็นๆ หายๆ การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจช่องท้องด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยยืนยันสำหรับโรคไส้เลื่อนกระบังลม เนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏอาการ การวินิจฉัยบางครั้งจึงเป็นการบังเอิญตรวจพบ โดยเฉพาะจากการเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะเห็นเงาผิดปกติในช่องอก การตรวจยืนยันการวินิจฉัยอาจใช้การกลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องตรวจก็ได้ บางครั้งอาจเผอิญตรวจพบจากการส่องกล้องเพื่อตรวจกระเพาะอาหาร เป็นต้น ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน แพทย์ก็จะส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัย
รักษาไส้เลื่อนอย่างไร?
การรักษาไส้เลื่อน ต้องอาศัยการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้หรืออวัยวะอื่นให้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม และเย็บปิดรู หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เป็นจุดอ่อนให้ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออก
1. ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่ยังไม่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว จะต้องนัดมาผ่าตัด ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบจนกระทั่งนัดมาผ่าตัดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดไส้เลื่อนติดคา หากมีความเสี่ยงสูง เช่น ไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นทันที ไส้เลื่อนเคลื่อนกลับที่เดิมยาก หรือรูที่ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออกมามีขนาดเล็ก ควรรีบผ่าตัดให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เนื่องจากไส้เลื่อนมีโอกาสเกิดภาวะติดคาได้ทุกเมื่อ
2. ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา การรักษาในขั้นแรกคือ การพยายามนำไส้เลื่อนที่ติดคาให้เคลื่อนที่กลับไปสู่ตำแหน่งเดิม ซึ่งทำได้โดยให้ผู้ป่วยนอนราบ ให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อและยานอนหลับ แล้วใช้นิ้วมือพยายามดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าสู่ช่องท้อง หากทำได้สำเร็จ ก็จะนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดการติดคาซ้ำได้อีกทุกเมื่อ แต่หากทำไม่สำเร็จ ต้องรีบผ่าตัดโดยฉุกเฉินเพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงและลำไส้เน่าตายตามมาได้
3. ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยง ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน โดยเวลานับตั้งแต่ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงจนกระทั่งลำไส้เน่าตาย และทำให้ต้องตัดลำไส้ทิ้งไปคือประมาณ 6 ชั่วโมง
อนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งปกติจะคลำก้อนไม่ได้ แต่หากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็น ก็ต้องนัดมารับการผ่าตัดโดยเร็วเช่นกันในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Paraesophageal hernia เมื่อตรวจวินิจฉัยพบ ก็ควรทำการผ่าตัดรักษา เนื่องจากมีโอกาสเกิดกระเพาะอาหารติดคา และขาดเลือดไปเลี้ยงเหมือนกับลำไส้ที่เกิดไส้เลื่อนเช่นกัน
ในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Sliding hiatal hernia ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จะอาศัยการรักษาด้วยยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การกินยาลดกรดในกระเพาะอาหาร การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน การไม่กินอาหารแต่ละมื้อหนักเกินไป ไม่กินแล้วนอนทันที ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เป็นต้น แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือเรื้อรัง รักษาด้วยยาอาการไม่ดีขึ้น หรือไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
เด็กที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือ สามารถรอดูอาการจนถึงอายุ 2 ขวบ แล้วค่อยผ่าตัดรักษา เนื่องจากสามารถหายได้เอง
การรักษาไส้เลื่อน ต้องอาศัยการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้หรืออวัยวะอื่นให้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม และเย็บปิดรู หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เป็นจุดอ่อนให้ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออก
1. ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่ยังไม่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว จะต้องนัดมาผ่าตัด ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบจนกระทั่งนัดมาผ่าตัดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดไส้เลื่อนติดคา หากมีความเสี่ยงสูง เช่น ไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นทันที ไส้เลื่อนเคลื่อนกลับที่เดิมยาก หรือรูที่ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออกมามีขนาดเล็ก ควรรีบผ่าตัดให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เนื่องจากไส้เลื่อนมีโอกาสเกิดภาวะติดคาได้ทุกเมื่อ
2. ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา การรักษาในขั้นแรกคือ การพยายามนำไส้เลื่อนที่ติดคาให้เคลื่อนที่กลับไปสู่ตำแหน่งเดิม ซึ่งทำได้โดยให้ผู้ป่วยนอนราบ ให้ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อและยานอนหลับ แล้วใช้นิ้วมือพยายามดันไส้เลื่อนให้กลับเข้าสู่ช่องท้อง หากทำได้สำเร็จ ก็จะนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดการติดคาซ้ำได้อีกทุกเมื่อ แต่หากทำไม่สำเร็จ ต้องรีบผ่าตัดโดยฉุกเฉินเพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงและลำไส้เน่าตายตามมาได้
3. ผู้ป่วยไส้เลื่อนที่เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยง ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน โดยเวลานับตั้งแต่ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงจนกระทั่งลำไส้เน่าตาย และทำให้ต้องตัดลำไส้ทิ้งไปคือประมาณ 6 ชั่วโมง
อนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ซึ่งปกติจะคลำก้อนไม่ได้ แต่หากตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็น ก็ต้องนัดมารับการผ่าตัดโดยเร็วเช่นกันในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Paraesophageal hernia เมื่อตรวจวินิจฉัยพบ ก็ควรทำการผ่าตัดรักษา เนื่องจากมีโอกาสเกิดกระเพาะอาหารติดคา และขาดเลือดไปเลี้ยงเหมือนกับลำไส้ที่เกิดไส้เลื่อนเช่นกัน
ในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Sliding hiatal hernia ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จะอาศัยการรักษาด้วยยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การกินยาลดกรดในกระเพาะอาหาร การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน การไม่กินอาหารแต่ละมื้อหนักเกินไป ไม่กินแล้วนอนทันที ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เป็นต้น แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือเรื้อรัง รักษาด้วยยาอาการไม่ดีขึ้น หรือไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
เด็กที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือ สามารถรอดูอาการจนถึงอายุ 2 ขวบ แล้วค่อยผ่าตัดรักษา เนื่องจากสามารถหายได้เอง
การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบมาตรฐาน (แบบเดิม)
การผ่าตัดแบบมาตรฐานมีหลักการที่จะเข้าไปผูกตัดถุงที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงานเดินตัวตรงตามปกติได้ช้า
การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบใช้กล้องส่อง
เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมหน้าท้องด้วยกล้องส่อง โดยการเจาะรูขนาดเล็กๆบริเวณผนังหน้าท้องเพื่อเข้าไปซ่อมไส้เลื่อนจากด้านใน และเสริมแผ่นความแข็งแรงบริเวณที่เป็น โดยมากจะมีแผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 ซม. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 ซม. จากนั้นก็ทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้อง ซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ในรายที่เป็นไส้เลื่อนขาหนีบทั้งสองข้าง หรือในรายที่เป็นไส้เลื่อนซ้ำหลังการทำผ่าตัดแบบมาตรฐาน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการทำในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนข้างเดียว ที่ไม่เคยผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยต้องการการรักษาด้วยวิธีนี้ ซึ่งทำให้ลดโอกาสการเป็นซ้ำ และมีอาการเจ็บน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
.jpg)

การพักฟื้นหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบใช้กล้องส่องหรือผ่าตัดแบบมาตรฐานโดยไร้ความ ตึง จะใช้เวลาพักฟื้นสั้น โดยมากมักอยู่โรงพยาบาล 2-3 วัน จากนั้นก็กลับบ้านไปทำงานได้ ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบมาตรฐานและใช้วิธีที่เย็บเนื้อเยื่อเข้าหากันจะอยู่ โรงพยาบาลนานกว่าเล็กน้อย และมักจะกลับไปพักที่บ้านอีก 5-7 วันก่อนจะกลับไปทำงานได้
วิธีดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด
1. ห้ามกระโดดโลดเต้น ไม่ควรยกของหนัก และงดการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วง 2 เดือนแรก
2. ไม่ควรเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ เพราะถ้ามีความดันในช่องท้องเพิ่ม ก็มีโอกาสที่จะทำให้รอยเย็บ หรือตาข่ายที่ใส่ไว้มีการเคลื่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไส้เลื่อน
พบได้บ้าง ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น การมีลิ่มเลือดบริเวณใต้แผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากเลือดออกจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ขณะทำการเลาะเนื้อเยื่อ, การติดเชื้อของแผลผ่าตัด, การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น ท่อนำน้ำเชื้ออสุจิ, เส้นประสาทขนาดเล็กที่มารับความรู้สึกจากผิวหนัง ซึ่งทำให้มีการเจ็บแปลบหรือชา เป็นต้น
การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคไส้เลื่อน คือ
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว และอยู่ในระหว่างรอรับการผ่าตัดรักษา หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้เนื่องจากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจขั้นรุนแรง ควรระวังป้องกันไม่ให้ไส้เลื่อนเกิดภาวะติดคา เช่น การไม่ยกของหนัก การไม่เบ่งถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ การใส่อุปกรณ์ประเภทสายรัดหรือกางเกงที่ช่วยกระชับไม่ให้ไส้เลื่อนโป่งตุงออกมา เป็นต้น
2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนแล้ว ก็ต้องระวังไม่ให้ไส้เลื่อนกลับมาเป็นอีก เช่น การลดน้ำหนักในผู้ที่มี โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การระวังไม่ให้มีน้ำหนักเกิน การไม่ยกของหนัก การไม่เบ่งถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเป็นประจำ เป็นต้น
3. ผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่มีอาการของกรดไหลย้อน ควรป้องกันการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงช็อกโกแลต ไม่กินอาหารที่มีรสจัด ไม่กินอาหารที่มีไขมันมาก ไม่กินอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ งดอาหารก่อนที่จะนอนอย่างน้อยประมาณ 3 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
1. เมื่อคลำได้เป็นก้อนตุงบริเวณหน้าท้องตำแหน่งต่างๆ หรือบริเวณขาหนีบ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ และหัวข้อ อาการ ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย
2. ผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด หากมีอาการปวดอย่างเฉียบพลันบริเวณตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อน อาจร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ รวมถึงผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย แต่มีอาการเหล่านี้ร่วมกับการมีก้อนตุงที่บริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ
เล่นกีฬา ทำให้เป็นไส้เลื่อนหรือไม่ ?
บางคนชอบใช้ข้ออ้างในการไม่ยอมเล่นกีฬาว่ากลัวเป็นไส้เลื่อน ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วกีฬาไม่ได้ทำให้เป็นไส้เลื่อน ไม่ว่าจะวิ่ง กระโดด หรือออกกำลังกายอื่น ๆ เว้นแต่กีฬาที่ต้องเกร็งหน้าท้องมาก ๆ เท่านั้น ที่อาจจะทำให้เกิดความดันในช่องท้องได้ เช่น ยกน้ำหนัก ทุ่มน้ำหนัก เป็นต้นค่ะ
การสวมกางเกงในที่รัด ทำให้เป็นไส้เลื่อนจริงหรือ?
คุณผู้ชายหลายคนกลัวว่าตัวเองจะเป็นไส้เลื่อนถึงขนาดไม่ยอมสวมกางเกงในและหันมาสวมการเกงบ็อกเซอร์แทน ซึ่งนั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริง ๆ แล้วการสวมกางเกงในแบบบิกินีไม่ได้ส่งผลให้เกิดความดันในช่องท้องจนทำให้เป็นไส้เลื่อนได้ เพราะฉะนั้นควรสวมแบบที่สวมใส่สบายไม่อึดอัดหรือหลวมจนเกินไปจะดีกว่า
ไส้เลื่อนผ่าแล้วเป็นอีก ได้หรือไม่
หลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกทั้งข้างเดิม และเป็นใหม่อีกข้างหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นซ้ำในข้างเดิมมีหลายอย่างได้แก่ การผ่าตัดที่ทำได้ไม่ถูกต้องตามเทคนิค, การรักษาไม่ได้ครอบคลุมการรักษา ปัจจัยชักนำหรือกำจัดปัจจัยชักนำไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยไม่หยุดสูบบุหรี่ ท้องผูกต้องเบ่งเป็นประจำ ไม่ได้ทำการรักษาต่อมลูกหมากโต เป็นต้น นอกจากนี้เนื้อเยื่อที่ไม่แข็งแรงของผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
โดยมากหากการผ่าตัดครั้งแรกเป็นแบบมาตรฐาน การผ่าตัดแก้ไขโดยใช้การผ่าตัดส่องกล้องก็จะมีข้อได้เปรียบ เพราะการผ่าตัดครั้งแรกที่เลาะเข้าทางด้านหน้าจะทำให้มีเนื้อเยื่อพังผืด จำนวนมาก ตัดเลาะซ้ำลำบาก การส่องกล้องเข้าจากด้านในผนังช่องท้อง จะไม่มีพังผืดมาบดบังทำให้ทำผ่าตัดแก้ไขได้แม่นยำและต้องไม่ลืมรักษาปัจจัยชักนำด้วย จึงจะป้องกันการเป็นซ้ำอีกได้ดีที่สุด
.jpg)
ไส้เลื่อน ไม่ใช่อาการอันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่มองข้ามได้เช่นกัน หมั่นดูแลสุขภาพและสังเกตความผิดปกติของร่างกายก็น่าจะดีกว่า
การผ่าตัดแบบมาตรฐานมีหลักการที่จะเข้าไปผูกตัดถุงที่ยื่นออกมา จากนั้นก็ทำการเย็บซ่อมผนังหน้าท้องส่วนที่อ่อนแอให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การเย็บซ่อมอาจดึงเนื้อเยื่อข้างเคียงเข้าหากัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่เนื้อเยื่อที่ถูกเย็บเข้ามาหากันจะตึงมาก ผู้ป่วยมักมีความเจ็บปวดหลังผ่าตัด กลับไปทำงานเดินตัวตรงตามปกติได้ช้า
การผ่าตัดไส้เลื่อนแบบใช้กล้องส่อง
เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการซ่อมหน้าท้องด้วยกล้องส่อง โดยการเจาะรูขนาดเล็กๆบริเวณผนังหน้าท้องเพื่อเข้าไปซ่อมไส้เลื่อนจากด้านใน และเสริมแผ่นความแข็งแรงบริเวณที่เป็น โดยมากจะมีแผลขนาดเล็ก 3 แผล โดยแผลที่สะดือที่จะใส่กล้องยาว 1 ซม. และแผลที่ใส่เครื่องมือยาว 0.5 ซม. จากนั้นก็ทำการเลาะด้านหลังของผนังช่องท้อง ซึ่งจะมองเห็นรูไส้เลื่อนจากทางด้านหลังได้อย่างชัดเจน แล้วใช้แผ่นตะแกรงสังเคราะห์ปูคลุมกล้ามเนื้อ ตรึงด้วยหมุดเย็บ 3-4 ตัว ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ในรายที่เป็นไส้เลื่อนขาหนีบทั้งสองข้าง หรือในรายที่เป็นไส้เลื่อนซ้ำหลังการทำผ่าตัดแบบมาตรฐาน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการทำในผู้ป่วยที่เป็นไส้เลื่อนข้างเดียว ที่ไม่เคยผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยต้องการการรักษาด้วยวิธีนี้ ซึ่งทำให้ลดโอกาสการเป็นซ้ำ และมีอาการเจ็บน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
.jpg)

การพักฟื้นหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบใช้กล้องส่องหรือผ่าตัดแบบมาตรฐานโดยไร้ความ ตึง จะใช้เวลาพักฟื้นสั้น โดยมากมักอยู่โรงพยาบาล 2-3 วัน จากนั้นก็กลับบ้านไปทำงานได้ ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดแบบมาตรฐานและใช้วิธีที่เย็บเนื้อเยื่อเข้าหากันจะอยู่ โรงพยาบาลนานกว่าเล็กน้อย และมักจะกลับไปพักที่บ้านอีก 5-7 วันก่อนจะกลับไปทำงานได้
วิธีดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด
1. ห้ามกระโดดโลดเต้น ไม่ควรยกของหนัก และงดการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วง 2 เดือนแรก
2. ไม่ควรเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ เพราะถ้ามีความดันในช่องท้องเพิ่ม ก็มีโอกาสที่จะทำให้รอยเย็บ หรือตาข่ายที่ใส่ไว้มีการเคลื่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไส้เลื่อน
พบได้บ้าง ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น การมีลิ่มเลือดบริเวณใต้แผลผ่าตัด ซึ่งเกิดจากเลือดออกจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ขณะทำการเลาะเนื้อเยื่อ, การติดเชื้อของแผลผ่าตัด, การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น ท่อนำน้ำเชื้ออสุจิ, เส้นประสาทขนาดเล็กที่มารับความรู้สึกจากผิวหนัง ซึ่งทำให้มีการเจ็บแปลบหรือชา เป็นต้น
การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคไส้เลื่อน คือ
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว และอยู่ในระหว่างรอรับการผ่าตัดรักษา หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้เนื่องจากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจขั้นรุนแรง ควรระวังป้องกันไม่ให้ไส้เลื่อนเกิดภาวะติดคา เช่น การไม่ยกของหนัก การไม่เบ่งถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ การใส่อุปกรณ์ประเภทสายรัดหรือกางเกงที่ช่วยกระชับไม่ให้ไส้เลื่อนโป่งตุงออกมา เป็นต้น
2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนแล้ว ก็ต้องระวังไม่ให้ไส้เลื่อนกลับมาเป็นอีก เช่น การลดน้ำหนักในผู้ที่มี โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การระวังไม่ให้มีน้ำหนักเกิน การไม่ยกของหนัก การไม่เบ่งถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเป็นประจำ เป็นต้น
3. ผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่มีอาการของกรดไหลย้อน ควรป้องกันการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงช็อกโกแลต ไม่กินอาหารที่มีรสจัด ไม่กินอาหารที่มีไขมันมาก ไม่กินอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ งดอาหารก่อนที่จะนอนอย่างน้อยประมาณ 3 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
1. เมื่อคลำได้เป็นก้อนตุงบริเวณหน้าท้องตำแหน่งต่างๆ หรือบริเวณขาหนีบ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ และหัวข้อ อาการ ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย
2. ผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไส้เลื่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด หากมีอาการปวดอย่างเฉียบพลันบริเวณตำแหน่งที่เป็นไส้เลื่อน อาจร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์ รวมถึงผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย แต่มีอาการเหล่านี้ร่วมกับการมีก้อนตุงที่บริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณขาหนีบ
เล่นกีฬา ทำให้เป็นไส้เลื่อนหรือไม่ ?
บางคนชอบใช้ข้ออ้างในการไม่ยอมเล่นกีฬาว่ากลัวเป็นไส้เลื่อน ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วกีฬาไม่ได้ทำให้เป็นไส้เลื่อน ไม่ว่าจะวิ่ง กระโดด หรือออกกำลังกายอื่น ๆ เว้นแต่กีฬาที่ต้องเกร็งหน้าท้องมาก ๆ เท่านั้น ที่อาจจะทำให้เกิดความดันในช่องท้องได้ เช่น ยกน้ำหนัก ทุ่มน้ำหนัก เป็นต้นค่ะ
การสวมกางเกงในที่รัด ทำให้เป็นไส้เลื่อนจริงหรือ?
คุณผู้ชายหลายคนกลัวว่าตัวเองจะเป็นไส้เลื่อนถึงขนาดไม่ยอมสวมกางเกงในและหันมาสวมการเกงบ็อกเซอร์แทน ซึ่งนั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะจริง ๆ แล้วการสวมกางเกงในแบบบิกินีไม่ได้ส่งผลให้เกิดความดันในช่องท้องจนทำให้เป็นไส้เลื่อนได้ เพราะฉะนั้นควรสวมแบบที่สวมใส่สบายไม่อึดอัดหรือหลวมจนเกินไปจะดีกว่า
ไส้เลื่อนผ่าแล้วเป็นอีก ได้หรือไม่
หลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกทั้งข้างเดิม และเป็นใหม่อีกข้างหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นซ้ำในข้างเดิมมีหลายอย่างได้แก่ การผ่าตัดที่ทำได้ไม่ถูกต้องตามเทคนิค, การรักษาไม่ได้ครอบคลุมการรักษา ปัจจัยชักนำหรือกำจัดปัจจัยชักนำไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยไม่หยุดสูบบุหรี่ ท้องผูกต้องเบ่งเป็นประจำ ไม่ได้ทำการรักษาต่อมลูกหมากโต เป็นต้น นอกจากนี้เนื้อเยื่อที่ไม่แข็งแรงของผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
โดยมากหากการผ่าตัดครั้งแรกเป็นแบบมาตรฐาน การผ่าตัดแก้ไขโดยใช้การผ่าตัดส่องกล้องก็จะมีข้อได้เปรียบ เพราะการผ่าตัดครั้งแรกที่เลาะเข้าทางด้านหน้าจะทำให้มีเนื้อเยื่อพังผืด จำนวนมาก ตัดเลาะซ้ำลำบาก การส่องกล้องเข้าจากด้านในผนังช่องท้อง จะไม่มีพังผืดมาบดบังทำให้ทำผ่าตัดแก้ไขได้แม่นยำและต้องไม่ลืมรักษาปัจจัยชักนำด้วย จึงจะป้องกันการเป็นซ้ำอีกได้ดีที่สุด
.jpg)
ไส้เลื่อน ไม่ใช่อาการอันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่มองข้ามได้เช่นกัน หมั่นดูแลสุขภาพและสังเกตความผิดปกติของร่างกายก็น่าจะดีกว่า
พว.รัตติยา เรืองเกียรติกุล
พยาบาลประจำศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง เปิดให้บริการ
จันทร์ - ศุกร์ 08:00 - 17:00
เสาร์ 10:00 - 12:00