โรคต้อหิน ภัยเงียบที่ทำลายการมองเห็น
โรคต้อหิน เป็นหนึ่งในโรคทางตาที่เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก จัดเป็นภัยเงียบที่คุกคามนัยน์ตาได้โดยไม่ทันรู้ตัว หากรักษาไม่ทันอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ในที่สุด
พญ.ลชญาช์ โอฬาพิริยกุล จักษุแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ กล่าวถึง ."โรคต้อหิน (Glaucoma)" เป็นภาวะการเสื่อมสภาพของเส้นประสาทตา ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียลานสายตา โดยมักเกิดในลักษณะที่ทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ และเมื่อลุกลามจนถึงลานสายตาส่วนกลาง จะทำให้ความคมชัดของภาพลดลง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้ตาบอดได้
โรคต้อหินมี 3 ชนิด
• ต้อหินมุมเปิด (open-angle glaucoma) โดยสามารถจำแนกย่อยเป็น ชนิดความดันลูกตาสูง และชนิดความดันลูกตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ต้อหินมุมปิด (angle closure glaucoma) สามารถแบ่งได้เป็น ชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง
• ต้อหินแทรกซ้อนจากความผิดปกติอื่นของตา เช่น ม่านตาอักเสบ ได้รับอุบัติเหตุที่ตามาก่อน การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
.png)
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคต้อหิน
คือ ความดันลูกตาที่สูงกว่าปกติ (ปกติน้อยกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท) ซึ่งความดันลูกตาที่สูงนี้ จะส่งผลให้การทำงานของเส้นประสาทตาลดลง นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นในการเป็นโรคต้อหิน เช่น อายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา สายตาสั้นหรือยาวมาก มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน เป็นต้น
คือ ความดันลูกตาที่สูงกว่าปกติ (ปกติน้อยกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท) ซึ่งความดันลูกตาที่สูงนี้ จะส่งผลให้การทำงานของเส้นประสาทตาลดลง นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นในการเป็นโรคต้อหิน เช่น อายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา สายตาสั้นหรือยาวมาก มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน เป็นต้น
โรคต้อหิน เป็นโรคที่ผู้ป่วยสังเกตพบความผิดปกติได้ด้วยตนเองค่อนข้างยาก เนื่องจากส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และการดำเนินโรคช้า ต้องอาศัยการตรวจโดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยโรค และติดตามอาการ และที่สำคัญ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคต้อหินให้หายขาด หรือทำให้การมองเห็นที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ มีเพียงการรักษาเพื่อชะลอการดำเนินโรค โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น ฉะนั้นการรักษาหลัก คือ การลดความดันลูกตา ซี่งมีอยู่ 3 วิธี อันได้แก่ การใช้ยา เลเซอร์ และผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน และความรุนแรงของโรค
พญ.ลชญาช์ โอฬาพิริยกุล จักษุแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญของโรคต้อหิน คือ การตรวจพบโรคให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็นในอนาคต ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 1719 คลินิกตา หรือ www.bangkokhatyai.com และ facebook :โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
คลินิกตา เปิดให้บริการ
จันทร์ - ศุกร์ 07.00 - 19.00 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 08.00 - 17.00 น.