เราทุ่มเท่เพื่อการรักษาที่มีคุณภาพ

stroke

blog img
2 เมษายน 2567 12:30 น.

stroke

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่เซลล์สมองถูกทาลาย จากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน แตก ทาให้เกิดการขัดขวางการลาเลียงเลือด ออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทางาน

โดยทั่วไปมักเรียกว่า อัมพฤกษ์ (อาการไม่รุนแรงและสามารถขยับร่างกายได้) หรือ อัมพาต (อาการรุนแรงและไม่สามารถขยับร่างกายได้เลยหรือขยับได้น้อย) ส่วนใหญ่พบมากในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

โรคหลอดเลือดสมอง มี 2 ประเภท

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบประมาณ 80%

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก พบประมาณ 20%

th1.PNG

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

1. ภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด ที่มีไขมันและหินปูนเกาะจับ ส่วนใหญ่ พบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่สูบบุหรี่

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(EN)_Page_1_Image_0003.jpg

2. โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ส่วนน้อยเกิดจากหลอดเลือดสมองอักเสบและโรคเลือดบางชนิด

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก

สาเหตุที่สาคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองแตก คือ โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในรายที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดี บางรายอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กาเนิด

อาการตามหลัก BEFAST โดยอาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน

B:Balance : สูญเสียการทรงตัว เวียนหัว เดินเซ

E:Eye : ตามืด ตามัว เห็นภาพซ้อน

F:Face : หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว

A:Arm : แขนขาชา หรือ อ่อนแรง

S:Speech : พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ มีปัญหาในการพูดหรือการเข้าใจภาษา

ถ้าท่านมีอาการข้อใดข้อหนึ่งให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(TH)_Page_03.jpg

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

1.ความดันโลหิตสูง

2.โรคเบาหวาน

3.โรคหัวใจ

4.ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

5.ความอ้วน

6.การสูบบุหรี่

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

1.อายุ

2.เชื้อชาติ

3.เพศ

4.พันธุกรรม

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(TH)_Page_04.jpg

การป้องกัน

1. ออกกาลังกายสม่าเสมอควบคุมน้าหนักให้เหมาะสม

2. งดสูบบุหรี่

3. ตรวจสุขภาพประจาปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

4. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่าเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด

5. กรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จาเป็นต้องรับประทานยาสม่าเสมอ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้า

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Ultrasound carotid artery) ตรวจเลือด เพื่อประเมินสาเหตุ ความรุนแรงและพยากรณ์โรค

การรักษาทางยา

หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายใน 3-4.5 ชั่วโมง จากมีอาการ และพบว่าเป็นเส้นเลือดสมองตีบอุดตัน แพทย์จะพิจารณาให้ “ยาฉีดละลายลิ่มเลือด” หากมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านเกร็ดเลือดต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(TH)_Page_07.jpg

การรักษาทางการผ่าตัด

การผ่าตัดในกรณีเส้นเลือดสมองอุดตัน จะทาในกรณีเกิดการตายของเนื้อสมองเป็นบริเวณกว้างจนเกิดภาวะสมองบวม ส่วนการผ่าตัดในกรณีเส้นเลือดสมองแตกจะต้องเป็นในตาแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ โดยคานึงถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีโอกาสเกิดน้อยกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ วัตถุประสงค์ของการผ่าตัด เพื่อลดภาวะสมองบวม เป็นการรักษาชีวิตไว้ เนื่องจากภาวะดังกล่าว อาจทาให้เกิดสมองเลื่อนกดทับศูนย์การหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้

การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงของผู้ป่วยให้ฟื้นตัว โดยฝึกให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมมากที่สุด ลดความพิการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การฟื้นฟู ประกอบด้วยกิจกรรมที่สาคัญ ได้แก่ (Scan QR CODE )

1.การบริหารร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

2.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

3.การจัดท่านอนในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

4.การกระตุ้นการกลืน

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(EN)_Page_4.jpg

TMS เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านขดลวดโดย ไม่ทาให้เจ็บปวด

ประโยชน์สาหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ใช้รักษาฟื้นฟูสภาพสาหรับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ที่มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีปัญหาการพูด พูดไม่ชัด พูดไม่ออก มีปัญหาความจา ช่วยส่งเสริมให้ผลลัพธ์การรักษาดีขึ้น 30-60%

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(TH)_Page_10.jpg

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(EN)_Page_3.jpg

ยาที่สาคัญสาหรับผู้ป่วยป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน ได้แก่

1.ยาต้านเกร็ดเลือด (antiplatelet) ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

1.1 แอสไพริน (Aspirin) นิยมใช้มากที่สุด

• การปฏิบัติตัวระหว่างรับประทานย

ควรเฝ้าระวังและสังเกตุอาการ เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของยาต้านเกร็ดเลือด ได้แก่ จ้าเลือดบริเวณผิวหนัง ปวดแสบท้อง อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระสีดา เลือดออกง่ายแต่หยุดยาก

หากพบภาวะดังกล่าวให้แจ้งแพทย์ผู้ทาการรักษารับทราบทันที

1.2 โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) อาการข้างเคียง ผื่น ปวดหน้าอก ปวดศีรษะ ตาพร่า อึดอัดท้อง ผู้ป่วยโรคตับหรือมีปัญหาตกเลือด ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

1.3 ซิลอสตาซอล (cilostazol) อาการข้างเคียง ปวดศีรษะ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

2. ยาต้านการอุดตันของลิ่มเลือด (anticoagulant ) ได้แก่

2.1 วอร์ฟาริน (warfarin) ข้อบ่งใช้ : รับประทานยานี้เพื่อไม่ให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มในหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอัมพาต

ข้อควรปฏิบัติ

• รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามปรับ ลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง

• ท่านต้องมาตรวจเลือดตามที่แพทย์นัดเสมอเพื่อดูฤทธิ์ของยา

• สังเกตอาการข้างเคียง ได้แก่ ปัสสาวะมีสีแดงเป็นน้าล้างเนื้อ หรือมีจ้าเขียวเป็นพรายย้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามตัว มีเลือดกาเดาออก มีอุจาระสีดา อาเจียนเป็นเลือด มีอาการปวดท้องมากผิดปกติ หรือเลือดออกจากที่อื่นๆ ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้ - หยุดรับประทานยากันเลือดแข็งทัน - แจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันที

• เมื่อไปพบแพทย์ ทันตแพทย์ ด้วยปัญหาอื่น ต้องทาการผ่าตัด ถอนฟัน หรือหัตถการที่มีเลือดออก รวมทั้งไปร้านยาเพื่อซื้อยารับประทาน ต้องแจ้งให้ทราบว่ารับประทานยากลุ่มนี้

2.2 โนแอ็ก (NOACs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นยากลุ่มใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อจากัดในการใช้ยาวอร์ฟาริน มี 4 ชนิด ได้แก่ Dabigatran ,Rivaroxaban,Apixaban,Edoxaba

ข้อควรปฏิบัติ

รับประทานยาอย่างเคร่งครัดและตรงเวลา เนื่องจากการขาดยาหรือกินยาไม่ตรงเวลา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกผิดปกติได้

อาการผิดปกติที่ต้องสังเกตุระหว่างรับประทานยา มีจ้าเลือด รอยฟกช้าตามผิวหนังโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเกิดบาดแผลเลือดไหลไม่หยุด เลือดออกตามไรฟัน เลือดกาเดาไหล เลือดออกในตาขาว ปัสสาวะสีแดงหรือน้าตาล มีเลือดปนกับอุจจาระ เลือดประจาเดือนมากผิดปกติ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน

ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุเพราะเลือดอาจไหลไม่หยุด วิธีแก้ คือใช้มือหรือผ้าสะอาด กดตรงแผลให้แน่นเพื่อลดการสูญเสียเลือด หากบาดแผลมีเลือดออกมาก หรือมีอาการลิ่มเลือดอุดตัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เมื่อไปพบแพทย์ ทันตแพทย์ ด้วยปัญหาอื่น ต้องทาการผ่าตัด ถอนฟัน หรือหัตถการที่มีเลือดออก รวมทั้งไปร้านยาเพื่อซื้อยารับประทาน ต้องแจ้งให้ทราบว่ารับประทานยากลุ่มนี้

การควบคุมอาหารให้มีระดับไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับน้าตาลเป็นปกติ จะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้าของโรคหลอดเลือดสมองได้ แนวทางการรับประทานอาหารสาหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้

เพื่อลดการสะสมไขมันในเส้นเลือด

1.เลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น หนังไก่ มันวัว หางวัว ทานเฉพาะส่วนเนื้อแดงที่ไม่มัน หรือเนื้อส่วนที่ไม่ติดหนัง เนื้อกุ้ง(ไม่ทานหัว) เนื้อปู(ไม่ทานไข่) และเน้นรับประทานเนื้อปลาให้มากขึ้น สามารถทานไข่แดงได้ 1 ฟองต่อวัน

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(bahasa)_Page_14.jpg

2. รับประทานแกงกะทิหรือขนมหวานน้ากะทิไม่เกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่รับประทานน้ากะทิในอาหารปริมาณมาก พยายามทานเนื้อเหลือน้ำ

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(bahasa)_Page_14.jpg

3.รับประทานเมนูทอดไม่เกิน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เน้นการรับประทานอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ปิ้ง อบ ผัดน้ามันน้อยหรือทอดแบบไร้น้ามันทดแทน

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(bahasa)_Page_15.jpg

4. เลือกใช้น้ามันให้เหมาะสมตามวิธีปรุง

th2.PNG

เพื่อคุมให้ความดันโลหิตใกล้เคียงปกติ

1. ลดความเค็มในอาหารโดยลดเครื่องปรุงโดยเฉพาะ ผงชูรส ผงปรุงรส สามารถปรุงอาหารด้วยเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ น้าปลา/ซีอิ้ว/ซอสปรุงรส/น้าบูดู/กะปิ ไม่เกิน 3-4 ช้อนชาต่อวัน (สามารถเพิ่มรสเปรี้ยวและใช้พริกไทยได้)ถ้าไม่ได้ปรุงอาหารเองให้เลี่ยงการรับประทานน้าแกง น้าซุป และน้ามันที่อยู่ในผัดผัก

th3.PNG

3. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงจาพวกผัก ผลไม้ ข้าวไม่ขัดสี เพื่อช่วยให้ร่างกายลดการดูดซึมไขมัน อิ่มท้องนาน และมีแร่ธาตุช่วยคุมความดันโลหิต

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(bahasa)_Page_17.jpg

4. เลือกรับประทานผลไม้ ธัญพืช/ถั่ว(อบแบบไม่ปรุงรส) หรือ ขนมไทยรสชาติไม่หวาน แทนขนมกรุบกรอบ เบเกอรี่ หรือขนมใส่น้ากะทิ

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(bahasa)_Page_17.jpg

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะทาให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ทาให้การทางานของหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น ลดความสามารถของเม็ดเลือดแดงในการนาพาออกซิเจนสู่เซลล์และ อวัยวะทั่วร่างกาย ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่จะเป็นการช่วยผู้ป่วยในการ ลดความรุนแรงของความดันโลหิตสูงได้ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจถุงลมโป่งพอง และมะเร็งปอดได้

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(EN)_Page_6.jpg

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเนื่องจากการสื่อประสาทในสมองเสียสมดุล ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากภาวะของโรครวมถึงความเครียดจากการเคลื่อนไหวตัวเองไม่ได้ ดังนั้นญาติหรือผู้ดูแลต้องช่วยให้กาลังใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยมีการซึมเศร้า ท้อแท้ ญาติหรือผู้ดูแลควรแจ้งแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

PI_CLT_Neuro-001_คำแนะนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Post stroke )(EN)_Page_4.jpg
th4.PNG
th5.PNG
th6.PNG