สาระสุขภาพ
25Jun
2016
การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (MRI Brain)
เป็นการตรวจส่วนของร่างกายโดยใช้คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุในการสร้างภาพเหมือนจริง
ข้อดี
- สามารถถ่ายภาพสมองและเนื้อเยื่อประสาทได้ชัดเจนในหลายระนาบ โดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง สมองน้อย ไขสันหลัง รวมทั้งเส้นประสาทได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากขึ้น เพื่อวางแผนการรักษาได้ดีขึ้น
- สามารถตรวจดูหลอดเลือดแดงและดำของสมองได้เช่นเดียวกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ไม่ได้รับสารรังสี
ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการตรวจค่อนข้างนานและจำเป็นต้องอยู่นิ่งๆเป็นเวลานาน เด็กเล็กและผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือได้ไม่เต็มที่อาจมีปัญหาในการตรวจ ซึ่งอาจจำเป็นต้องให้ยาเพื่อช่วยให้หลับหรือสงบในระหว่างทำ
- ในกรณีที่มีโลหะในร่างกายบางชนิดไม่สามารถทำการตรวจได้ เช่น คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysmal clip) ลิ้นหัวใจเทียม เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (Cardiac pacemaker) ขดลวดของหลอดเลือดหัวใจบางชนิด อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกลัวที่แคบ ทำให้ไม่สามารถอยู่ในอุโมงค์แคบๆได้ (Claustrophobia)
- ถ้าจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี อาจส่งผลกระทบต่อไตได้ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
ข้อดี
- สามารถถ่ายภาพสมองและเนื้อเยื่อประสาทได้ชัดเจนในหลายระนาบ โดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง สมองน้อย ไขสันหลัง รวมทั้งเส้นประสาทได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้การวินิจฉัยโรคแม่นยำมากขึ้น เพื่อวางแผนการรักษาได้ดีขึ้น
- สามารถตรวจดูหลอดเลือดแดงและดำของสมองได้เช่นเดียวกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ไม่ได้รับสารรังสี
ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการตรวจค่อนข้างนานและจำเป็นต้องอยู่นิ่งๆเป็นเวลานาน เด็กเล็กและผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือได้ไม่เต็มที่อาจมีปัญหาในการตรวจ ซึ่งอาจจำเป็นต้องให้ยาเพื่อช่วยให้หลับหรือสงบในระหว่างทำ
- ในกรณีที่มีโลหะในร่างกายบางชนิดไม่สามารถทำการตรวจได้ เช่น คลิปอุดหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysmal clip) ลิ้นหัวใจเทียม เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (Cardiac pacemaker) ขดลวดของหลอดเลือดหัวใจบางชนิด อวัยวะเทียมภายในหู เป็นต้น
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกลัวที่แคบ ทำให้ไม่สามารถอยู่ในอุโมงค์แคบๆได้ (Claustrophobia)
- ถ้าจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี อาจส่งผลกระทบต่อไตได้ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
Share With your friends