สาระสุขภาพ

09Jan
2018

คำแนะนำเรื่องโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย ( Hand Foot Mouth syndrome )

โรคมือ ปาก เท้า เปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Coxsackie A เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ Coxsackie A 16 และ Enterovirus โดยเฉพาะไวรัส Enterovirus 71 ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie A 16 จะไม่รุนแรงมากและหายเองภายใน 7 วัน แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อ Enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน เพราะเชื้อจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้

 คำแนะนำเรื่องโรคมือ เท้า ปาก เปื่อย ( Hand Foot Mouth syndrome )

1) ข้อมูลเบื้องต้น

           โรคมือ ปาก เท้า เปื่อย  เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Coxsackie A  เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ Coxsackie A 16 และ Enterovirus  โดยเฉพาะไวรัส Enterovirus  71 ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackie A 16 จะไม่รุนแรงมากและหายเองภายใน 7 วัน แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อ Enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน เพราะเชื้อจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบได้

การแพร่ระบาด 

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปากเปื่อยสามารถแพร่ระบาดได้ในคน  โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

1.       เกิดจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง   เชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก  หรืออุจจาระของผู้ป่วยและ สามารถตรวจเชื้อโรคมือปากเท้าเปื่อยได้  ในน้ำ  ดิน  ผักสดและสัตว์น้ำที่มี เปลือกหุ้ม

2.       เกิดจากการไอจามรดกัน 

3.       โรคนี้สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี  โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

อาการ   จะพบอาการภายใน  3-6  วัน หลังจากได้รับเชื้อและร่างกายอ่อนแอลง และมีอาการดังต่อไปนี้

1.       ไข้ต่ำหรือไข้สูง 

2.       ปวดศีรษะ 

3.       อ่อนเพลีย

4.       ไม่กินนม ไม่กินอาหาร 

5.       เจ็บคอ 

6.       ตุ่มน้ำใส หรือ แผล ที่คอ ในปาก , ลิ้น , เพดาน และกระพุ้งแก้ม

7.       ผื่นที่มีตุ่มน้ำใส มือ เท้า และปาก (อาจพบที่บริเวณก้นร่วมด้วย) 

2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ที่ความเสี่ยง

 การรักษา    จะรักษาตามอาการ ได้แก่

1.       ให้ยาลดไข้ เวลามีไข้

2.       แผลในปากมักจะเจ็บมาก ทำให้เด็กๆ ไม่ยอมดูดนม หรือกินอาหาร การดูดจุกนมอาจจะทำให้เจ็บมาก อาจให้เด็กกิน

นมโดยใช้ช้อนป้อน หรือใช้หลอดสำหรับฉีดยาค่อยๆ หยดนมใส่ปาก

3.        การรับประทานนมที่เย็น อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ หรือรับประทานไอศกรีม จะทำให้แผลในปากเจ็บ น้อยลง

4.        ถ้าแผลในปากเจ็บมากอาจลองใช้ยาชา แต้มแผลก็จะทุเลาอาการเจ็บ

5.        ในเด็กเล็กๆ ถ้ามีแผลในปากมาก และไม่ยอมกินอะไร และเริ่มมีอาการขาดน้ำ อาจต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อให้

น้ำเกลือ เมื่ออาการเจ็บแผลดีขึ้นเด็กเริ่มกินได้และสามารถกลับบ้านได้

3) การป้องกันไม่ให้เกิดโรค


1.       หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ (direct contact) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดการระบาด

         2.       ดูแลความสะอาดของร่างกาย

         3.       ล้างมือให้สะอาดภายหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งและก่อนรับประทานอาหาร

         4.       หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก

          5.       สถานที่ดูแลเด็ก อาทิเช่น สถานเลี้ยงเด็กอ่อน เด็กเล็ก ควรเน้นวิธีกำจัดอุจจาระให้ถูกต้อง เนื่องจากไวรัสนี้แพร่กระจาย โดยการสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วย

          6.       เมื่อเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือหรือเท้า และต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

          7.       แยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

          8.       รับประทานอาหารและน้ำที่สะอาด ไม่ควรลงเล่นน้ำในสระน้ำสาธารณะ

          9.       หลีกเลี่ยงการเล่นในสนามเด็กเล่นสาธารณะ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของอุจจาระเข้าปาก

4) ข้อควรระวัง

        หากโรคนี้มีสาเหตุมาจาก Enterovirus 71  อาจจะมีอาการรุนแรงมีไข้สูง เบื่ออาหาร อาเจียน บ่อยครั้งอาจเกิดสภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด  อาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและนำไปพบแพทย์ ณ คลินิกใกล้บ้านทันที

Share With your friends

ความรู้ทีน่าสนใจ

  • คำแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

  • คำแนะนำวิธีปฏิบัติตัวในผู้ป่วยปวดคอ

  • คำแนะนำเรื่อง การบริหารร่างกายในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

© 2015 Bangkok Hospital . All rights reserved.
Cookie Policy
Privacy