เราทุ่มเท่เพื่อการรักษาที่มีคุณภาพ

ตับแข็ง...กับภาวะแทรกซ้อน

ตับแข็ง...กับภาวะแทรกซ้อน

16 เมษายน 2567 07:12 น. Bangkok Hospital Hat Yai

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ตับ” เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการสร้างสารโปรตีน – สารภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด สร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ขจัดสารพิษหรือแม้แต่การกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับระบบทางเดินอาหารออกจากร่างกาย

Shutterstock_2394735319.jpg

ภาวะตับแข็ง จะส่งผลกระทบต่อร่างกายจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ

1.จากการทำงานของตับที่ลดลง

2.จากแรงดันเลือดในตับสูง (อันเนื่องมาจากผังผืดที่มีปริมาณมากเบียดหลอดเลือดฝอยในตับ)

ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่

1.ภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (Esophagealvarices)

เกิดจากพังผืดในตับ ดึงรั้งทำให้เกิดความดันเลือดในตับและในหลอดอาหารสูงขึ้น จนเกิดเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารโดยหากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด อาจถึงช็อคและเสียชีวิต

2.ท้องมาน (Ascites)

เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากกว่าปกติ เกิดจากการที่แรงดันของหลอดเลือดในตับสูงขึ้นจนเกิดการรั่วซึมของน้ำออกมาจากตับ ร่วมกับภาวะที่ผู้ป่วยตับแข็งมักมีระดับโปรตีนอัลบูมินที่ต่ำลง (โปรตีนชนิดนี้จะช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด) จึงเกิดการสะสมปริมาณน้ำในช่องท้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องบวม ขาบวม สะดือจุ่น ภาวะนี้รักษาได้โดยการให้ยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยดังกล่าวอาจเกิดการติดเชื้อในช่องท้องแทรกซ้อนได้เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันที่ลดลง ส่งผลให้มีอาการไข้ ปวดท้องหรือท้องเสีย แพทย์จะวินิจฉัยโดยการเจาะน้ำในช่องท้องไปตรวจและให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

shutterstock_2003985749.jpg

3.ภาวะไตวายจากตับแข็ง (Hepatorenal syndrome)

เกิดจากภาวะตับที่เสื่อมสภาพทำให้มีไนตริกออกไซด์และระบบฮอร์โมนทีควบคุม การบีบตัวของเส้นเลือดแดงผิดปกติ มีผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตลดลงทำให้เกิดภาวะไตวายขึ้นโดยภาวะนี้พยาธิสภาพของเนื้อไตจะปกติ

4.ภาวะทางสมองของผู้ป่วยตับแข็ง

เกิดจากความสามารถในการขจัดสารพิษของตับลดลงร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดในตับที่ผิดปกติ ส่งผลให้ของเสีย (โดยเฉพาะสารแอมโมเนีย) บางส่วนไม่ผ่านการกรองที่ตับทำให้เกิดสารพิษดังกล่าวปนกับกระแสเลือดและมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง โดยผู้ป่วยมีอาการง่วงตอนกลางวัน มือสั่น, พูดจาสับสน, ความรู้สึกตัวลดลงหรือหมดสติได้ โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้แก่ การติดเชื้อ ท้องผูก เป็นต้น

5.เลือดออกผิดปกติ

ตับเป็นอวัยวะที่สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในภาวะตับแข็งจะทำให้เกิดการลดลงของโปรตีนเหล่านี้ ร่วมกับเกล็ดเลือดที่ต่ำจากม้ามโตทำให้ผู้ป่วยตับแข็งมีปัญหาเลือดออกง่ายกว่าปกติ

shutterstock_1348213649 [Converted]-01.jpg